อุปกรณ์ป้องกันไฟผ่าน (Flame arrester) สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ PNS ข้อมูลดีๆทางวิศวกรรม มาฝากทุกท่านอีกเช่นเคยครับ วันนี้จะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างในโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือ “อุปกรณ์ป้องกันไฟผ่าน” นั่นเอง...

ความแตกต่างระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316 และ 316L วันนี้จะเป็นเรื่องของ “เหล็กกล้าไร้สนิม” ครับเพราะไม่ใช่แค่ความชำนาญของวิศวกรเท่านั้นที่สำคัญ แต่การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ก็สำคัญไม่แพ้กัน เรามาดูกันว่า “เหล็กกล้าไร้สนิม” นั้น มันสำคัญอย่างไร ตามมาตรฐานการแบ่งประเภทเกรดของเหล็กกล้าไร้สนิมจาก American Iron and Steel Institute (AISI) นั้น เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316 และ 316L จะอยู่ในกลุ่มออสทินิติก (Austenitic) และพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมสองเกรดนี้เท่านั้นที่ปริมาณของธาตุคาร์บอน(Carbon) โดยเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด “316” จะกำหนดปริมาณคาร์บอนไว้ไม่เกิน 0.08 wt.% ส่วนในเหล็กกล้าไร้สนิม “เกรด 316L” ตัวย่อ L นั้นย่อมาจาก ปริมาณคาร์บอนที่น้อยกว่า (Lower carbon content) ซึ่งจะกำหนดปริมาณคาร์บอนไว้ให้ไม่เกิน 0.030 wt.% ดังนั้นเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316L...

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ PNS ข้อมูลดี ๆ ทางวิศวกรรม มาฝากทุกท่านอีกเช่นเคยครับ วันนี้จะเป็นเรื่องของ “เหล็กกล้า & เหล็กกล้าไร้สนิม” ครับ เรามาดูกันว่ากว่าจะผลิตท่อเหล็กกล้าและท่อเหล็กกล้าไร้สนิม ได้นั้นจะต้องทำอย่างไร และสำคัญอย่างไร PNS มีคำตอบมาให้แล้วครับ ท่อเหล็กกล้า (Steel pipe) และท่อเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel pipe) เป็นท่อโลหะที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประมาณ 80% ของท่อโลหะทั้งหมดที่ใช้ในอุตสาหกรรมก็คือท่อเหล็กกล้า การผลิตท่อเหล็กกล้าและท่อเหล็กกล้าไร้สนิมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะท่อเหล็กที่ผลิตได้ ได้แก่ ท่อแบบมีตะเข็บ (Welded pipe) และท่อแบบไม่มีตะเข็บ (Seamless pipe) โดยคำว่าตะเข็บที่ปรากฏบนผิวท่อนั้น ก็มาจากรอยเชื่อมท่อนั่นเอง ดังนั้นความแตกต่างระหว่างท่อแบบมีตะเข็บ ก็จะขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการเชื่อมชนิดต่าง ๆ ทำให้ท่อแบบมีตะเข็บมีความแข็งแรงแตกต่างกัน ตามประสิทธิภาพของรอยเชื่อม...

สาเหตุของความเสียหาย (Failure) สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้ PNS มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่มักจะเกิดขึ้นในโรงงาน หรือ สถานที่ประกอบการของ วงการวิศวกรรมมาฝากทุกท่านครับ แน่นอนว่า “ความเสียหาย” เป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับทุกที่อยู่เสมอ วันนี้ PNS ได้รวบรวม สาเหตุของความเสียหาย มาฝากทุกท่านกันครับ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในวัสดุ โครงสร้าง หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ เครื่องจักร โดยปัจจัยสำคัญหลักๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดความเสียหายนั้น ได้แก่ • การใช้งานหรือการทำงานที่ผิดปกติ ไม่ถูกต้อง • สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม • การบำรุงรักษา (Maintenance) ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม • การตรวจสอบหรือการทดสอบที่ไม่เหมาะสม • ความผิดพลาดในการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ • ความผิดพลาดในการผลิต • ความผิดพลาดในการออกแบบ สาเหตุที่กล่าวมานั้น เป็นปัจจัยหลักๆ ที่มักเป็นสาเหตุของการเกิดความเสียหายขึ้น ดังนั้น เมื่อทุกท่านทราบถึงสาเหตุแล้ว เรามาสามารถเตรียมการ เตรียมตัว และตั้งรับกับปัญหาที่จะเกิดตามมาได้ โดยเริ่มจากการวางแผน และวิเคราะห์ให้รอบด้าน นั่นจะเป็นการเตรียมตัวที่ดีและลดปัญหาที่ตามมาครับ ติดตามเกร็ดความรู้ใหม่ๆ จาก PNS เกี่ยวกับความรู้ทางวิศวกรรม...

สวัสดีครับชาวเพจ PNS ทุกท่าน วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับระบบท่อในอุตสาหกรรม ว่ามีลักษณะแบบใด และการใช้งานเป็นแบบไหน เราไปดูกันครับ ระบบท่อเป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งของไหลและสิ่งต่างๆไปสู่ส่วนต่างๆของระบบในโรงงานอุตสาหกรรม การออกแบบระบบท่อจะต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันของโรงงานและในสภาวะเงื่อนไขการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ชนิดของไหล , อัตราการไหล , อุณหภูมิ , ความดัน , ความเข้มข้น , สภาพความเป็นกรดหรือด่างและการกัดกร่อน เป็นต้น ถ้าการออกแบบและวางระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมไปถึงการบำรุงรักษาระบบท่อที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่สม่ำเสมอ ก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆของกระบวนการผลิตในโรงงาน ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของความเสียหายรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยทั่วไป ระบบท่อที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ เส้นท่อที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายของไหลและสิ่งต่างๆที่ใช้ในการเปลี่ยนทิศการไหล กระจายหรือรวมการไหลในเส้นท่อ วาล์วที่ใช้ควบคุมการทำงานของไหลให้เป็นไปตามที่ต้องการและเครื่องมือวัดสำหรับตรวจสอบการทำงานของของไหล นอกจากนี้ ยังมีส่วนประกอบสำคัญอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อ ได้แก่ การประกอบท่อให้เชื่อมติดกัน ส่วนโครงสร้างที่จับยึดและหมุนท่อ ฉนวนกันความร้อนและความเย็น การตรวจสอบและทดสอบระบบท่อ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบท่ออุตสาหกรรมที่จะต้องเข้าใจองค์ประกอบสำคัญต่างๆของระบบท่อเหล่านี้ เพราะจะทำให้การออกแบบ การประกอบ การใช้งาน และการบำรุงรักษาระบบท่อเป็นไปอย่างถูกต้อง ปลอดภัย...

มาตรฐาน ASME B31.3 - Process Piping สวัสดีครับทุกท่านPNS มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานระบบท่อที่เป็นมาตรฐานสากลใช้กันทั่วทุกโรงงาน นั่นก็คือ ASME B31.3 นั่นเองครับ หลายท่านที่ยังไม่ทราบวันนี้ PNS จะพาทุกท่านไปรู้จักกันครับ “ASME B31.3 - Process Piping” เป็นมาตรฐาน หรือ Code ที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อในกระบวนการผลิตภายใต้ความดัน สำหรับนำไปปฏิบัติใช้ในโรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปิโตรเคมี โรงงานเคมี และโรงงานผลิตทั่วๆ ไป เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตยา เป็นต้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นใจในการใช้งานของระบบท่อ โดยใน Code จะระบุข้อบังคับในการออกแบบและการใช้งานระบบท่อ เริ่มตั้งแต่วิธีการออกแบบระบบท่อ เงื่อนไขในการออกแบบ การเลือกวัสดุท่อและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การประกอบท่อ การติดตั้งระบบท่อ ไปจนถึงการตรวจสอบและทดสอบระบบท่อ โดย ASME B31.3 Code...

มาตรฐาน ASME B31.3 - Process Piping สวัสดีครับทุกท่าน ว่าด้วยเรื่องการออกแบบระบบท่อกระบวนการผลิตในโรงงานของประเทศสหรัฐอเมริกา จะอ้างอิงและปฏิบัติตามโค้ดและมาตรฐานต่างๆ ในการออกแบบ (Code and Standard) เพื่อให้มีความสมบูรณ์และความปลอดภัยในการใช้งาน โดยโค้ดและมาตรฐานสำคัญเหล่านี้ได้แก่ • ASME: American Society of Mechanical Engineers • ANSI: American National Standardization Institute • ASTM: American Society of Testing Materials • API: American Petroleum Institute (สำหรับ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส) โดยมาตรฐานพื้นฐานที่ใช้ในระบบท่อจะนิยมอ้างอิงจาก ASME B31 Code ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบท่อที่มีความดัน (Pressure piping) ซึ่งทางเพจ PNS จะมาอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานระบบท่อที่เป็นมาตรฐานสากลใช้กันทั่วทุกโรงงาน นั่นก็คือ ASME B31.3...

สวัสดีครับชาวเพจ PNS ทุกท่าน วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับการบอกขนาดความหนาของท่อโลหะที่ใช้ในกระบวนการผลิตในโรงงาน ว่ามีวิธีบอกความหนาแบบใด แบบไหนเป็นที่นิยมใช้ รายละเอียดปลีกย่อยเป็นอย่างไร เราไปดูกันครับ การบอกขนาดความหนาของท่อ การบอกขนาดความหนาของท่อโลหะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมบอกเป็นเลขระบุความหนา (Schedule number) ในระบบมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยท่อเหล็กกล้าคาร์บอน จะมีขนาดความหนาของท่อตามเลขระบุความหนาดังนี้ 5, 10, 20, 30, 40, 60, 80, 100, 120, 140 และ 160 ซึ่งเป็นขนาดความหนามาตรฐานของท่อ (Standard weight wall thickness, STD) โดยตัวเลขที่มากขึ้นก็คือความหนาท่อที่มากขึ้นนั่นเอง เมื่อขนาดความหนาท่อเพิ่มขึ้น ท่อนั้นจะมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นและหนักขึ้นด้วยเนื่องจากมีเนื้อวัสดุเพิ่มขึ้น ทำให้ใช้งานได้ในงานที่มีความดันสูงขึ้น และมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามท่อที่มีความหนาเพิ่มขึ้นก็จะมีราคาสูงขึ้นด้วยทั้งในการผลิตท่อและการติตตั้ง โดยทั่วไปขนาดความหนาของท่อที่เลขระบุความหนา 40 จะเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุด ในขณะที่ความหนาของท่อที่เลขระบุความหนา 5, 60, 100, 120 และ...

การวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure analysis) สวัสดีทุกท่านครับ จากสัปดาห์ที่แล้ว PNS ให้ข้อมูลของสาเหตุความเสียหายที่เกิดขึ้นในโรงงานไปเรียบร้อยแล้ว ในวันนี้จะมาพูดถึง “การวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure analysis)” กันครับ โดยทั่วไปแล้ว เวลานึกถึงความเสียหาย (ความวิบัติ) ที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนอุปกรณ์ เรามักจะนึกถึงการแตกหัก การกัดกร่อน หรือการเสียรูปของส่วนใดส่วนหนึ่งในชิ้นส่วนอุปกรณ์นั้น แต่อย่างไรก็ตาม นิยามของความเสียหายในทางวิศวกรรมนั้นมีความหมายที่กว้างกว่านั้นครับ ซึ่งเราหมายถึงการที่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ส่วนประกอบของโครงสร้างหรือเครื่องจักรต่างๆไม่สามารถที่จะหน้าที่ของตัวมันเองได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง ดังนั้น เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือเครื่องจักรไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ได้ตามปกติ ก็พิจารณาได้ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือเครื่องจักร โดยวิศวกรที่เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นและหาสาเหตุที่แท้จริงของความเสียหายนั้น เพื่อจะหามาตรการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งกรรมวิธีที่ใช้ในการตรวจสอบหาสาเหตุของความเสียหายนั้นเรียกว่า “การวิเคราะห์ความเสียหาย” ในทางวิศวกรรมนั้นการวิเคราะห์ความเสียหาย หมายถึงการตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของโครงสร้างที่เกิดความเสียหาย เพื่อที่จะวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมีจุดประสงค์ทั่วไป เพื่อป้องกัน ซ่อมแซม หรือออกแบบใหม่สำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของโครงสร้างที่ได้รับความเสียหาย และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นอีกในอนาคตตามมาครับ ติดตามเกร็ดความรู้ใหม่ๆ จาก PNS เกี่ยวกับความรู้ทางวิศวกรรม ได้ที่เพจเลยนะครับ ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก รศ.ดร.เสกศักดิ์ อัสวะวิสิทธิ์ชัย...

สวัสดีเพื่อนๆชาวเพจPNS วันนี้มีสาระเกี่ยวกับการลดเสียงรบกวนในระบบท่อมาฝากกันครับ ไปดูกันว่าเสียงดังเสียงรบกวนในระบบท่อเกิดจากอะไร และการแก้ไขให้เสียงเหล่านั้นเงียบลงจะทำกันอย่างไร เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นในระบบท่อเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการเปลี่ยนทิศการไหลหรือเปลี่ยนรูปแบบการไหลของของไหลในท่อ การไหลผ่านวาล์ว ปั๊ม หรือคอมเพรสเซอร์ การเกิด Water hammer หรือการเกิด Cavitation เป็นต้น ถ้าเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นมีขนาดความดังมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดความเดือดร้อนรบกวนผู้อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมักมีขนาดใหญ่ มีอัตราการไหลสูง ความดันสูง ก็จะยิ่งสร้างระดับเสียงที่ดังมาก ยิ่งทำให้เป็นอันตรายต่อระบบประสาทหูของคนเรา ดังนั้นการลดหรือกำจัดเสียงรบกวนในระบบท่อจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ 1. การใช้ข้อต่อยืดหยุ่น (Flexible joint) 2. การปรับระดับการควบคุมวาล์วให้มีการไหลที่ช้าลงเมื่อเปิด/ปิดวาล์ว อย่างรวดเร็ว 3. การติดต้้งท่อดูดซับเสียง 4. การใช้ส่วนรับท่อ (Pipe support) แบบยืดหยุ่น 5. การใช้ปลอกหุ้มท่อ สาเหตุหลักที่มักจะเกิดเสียงดังรบกวนในระบบท่ออุสาหกรรมส่วนมากมักเกิดจาก ค้อนน้ำ (Water hammer) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ของไหลที่ไหลอยู่ในระบบท่อเกิดการไหลกระแทกกับผนังท่อ/อุปกรณ์ ทำให้เกิดเสียงดังที่มีลักษณะเหมือนกับการที่ใครสักคนเอาค้อนไปเคาะผนังท่อเป็นจังหวะๆ ค้อนน้ำไม่ใช่เกิดกับของไหลประเภทน้ำเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดกับของไหลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นของเหลว แก๊ส...