สวัสดีครับเพื่อนๆชาวเพจPNS วันนี้มีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝาก โดยครั้งนี้เป็นเรื่องของ “สิ่งสำคัญในการออกแบบระบบท่อน้ำ” [(Water piping system] ไปดูกันว่าสิ่งสำคัญของการออกแบบระบบท่อน้ำนั้นมีอะไรกันบ้าง
ในการออกแบบระบบท่อน้ำ (Water piping system) จะมีปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ได้แก่
• ความดันลด (ความดันสุญเสีย) (Pressure drop/loss) ของน้ำในท่อ
เมื่อไหลผ่านท่อ ข้อต่อ และวาล์ว
• อัตราความดันลดของน้ำในท่อ
• ความเร็วของน้ำที่ไหลในท่อ
โดยความดันลดของน้ำที่ไหลผ่านท่อจะขึ้นอยู่กับความเร็วของน้ำ ขนาดท่อ ลักษณะพื้นผิวของผนังท่อ และความยาวของท่อ ในการคำนวณหาขนาดความดันลดในระบบท่อ จะต้องคำนวณหาขนาดความดันลดที่เกิดจากน้ำที่ไหลผ่านข้อต่อ วาล์ว และอุปกรณ์อื่นๆที่ติดตั้งอยู่ในระบบท่อด้วย ส่วนอัตราความดันลดของน้ำในท่อ จะเกิดจากการเปลี่ยนขนาดของท่อจากท่อขนาดใหญ่เป็นท่อขนาดเล็ก ถ้ามีการลดขนาดท่อให้เล็กเกินไป ก็จะทำให้ความดันลดเพิ่มขึ้นอย่างมากจนทำให้อัตราการไหลของน้ำลดลง และสำหรับความเร็วของน้ำในท่อนั้น จะต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการสึกกร่อน (Erosion) และการกัดกร่อน (Corrosion) ในท่อ เนื่องจากการใช้งานบางอย่างต้องการระดับความเร็วของน้ำที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดความเสียหายจากการสึกกร่อนและการกัดกร่อนให้มากที่สุดด้วย
และถ้าหากพูดถึงน้ำที่ไหลในท่อน้ำสำหรับอาคารบ้านเรือนก็จะถูกกำหนดให้มีขนาดความเร็วที่เหมาะสมช่วงหนึ่ง เพื่อให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพสูงสุด และในขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความดันลด (Pressure drop/loss) ที่มากเกินไป และช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากการสึกกร่อนและการกัดกร่อนในท่อ โดยการสึกกร่อนและการกัดกร่อนในท่อเกิดจากการที่ท่อน้ำมีอนุภาคขนาดเล็ก เช่น เศษหิน ทราย หรือสารแขวนลอย ปนเปื้อนไหลไปกับน้ำ รวมทั้งการเกิดฟองอากาศในระบบท่อ
โดยความเร็วที่เหมาะสมของน้ำในท่อที่ใช้ในประเภทการใช้งานต่างๆมีดังต่อไปนี้
• งานบริการทั่วไป ความเร็วของน้ำในท่อ (fps) 5 – 10
• ท่อส่งน้ำในเมือง ความเร็วของน้ำในท่อ (fps) 3 – 7
• ทางเข้าของปั๊ม ความเร็วของน้ำในท่อ (fps) 4 – 7
• ทางออกของปั๊ม ความเร็วของน้ำในท่อ (fps) 8 – 12
• ท่อน้ำทิ้ง ความเร็วของน้ำในท่อ (fps) 4 – 7
• ท่อน้ำใหญ่ (Header) ความเร็วของน้ำในท่อ (fps) 4 – 15
• ท่อน้ำในแนวตั้ง ความเร็วของน้ำในท่อ (fps) 3 – 10
หวังว่าเพื่อนๆจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย โอกาสหน้าPNSจะนำบทความเกี่ยวกับPipingเรื่องใดมาฝากอีกรอติดตามกันด้วยนะครับ
หากเพื่อนๆชอบบทความนี้ รบกวนฝากกดไลค์ กดแชร์เพจให้ด้วยนะครับผม
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก รศ.ดร.เสกศักดิ์ อัสวะวิสิทธิ์ชัย