การวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure analysis)

การวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure analysis)

สวัสดีทุกท่านครับ จากสัปดาห์ที่แล้ว PNS ให้ข้อมูลของสาเหตุความเสียหายที่เกิดขึ้นในโรงงานไปเรียบร้อยแล้ว ในวันนี้จะมาพูดถึง “การวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure analysis)” กันครับ
โดยทั่วไปแล้ว เวลานึกถึงความเสียหาย (ความวิบัติ) ที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนอุปกรณ์ เรามักจะนึกถึงการแตกหัก การกัดกร่อน หรือการเสียรูปของส่วนใดส่วนหนึ่งในชิ้นส่วนอุปกรณ์นั้น แต่อย่างไรก็ตาม นิยามของความเสียหายในทางวิศวกรรมนั้นมีความหมายที่กว้างกว่านั้นครับ ซึ่งเราหมายถึงการที่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ส่วนประกอบของโครงสร้างหรือเครื่องจักรต่างๆไม่สามารถที่จะหน้าที่ของตัวมันเองได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง
ดังนั้น เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือเครื่องจักรไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ได้ตามปกติ ก็พิจารณาได้ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือเครื่องจักร
โดยวิศวกรที่เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นและหาสาเหตุที่แท้จริงของความเสียหายนั้น เพื่อจะหามาตรการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งกรรมวิธีที่ใช้ในการตรวจสอบหาสาเหตุของความเสียหายนั้นเรียกว่า “การวิเคราะห์ความเสียหาย”
ในทางวิศวกรรมนั้นการวิเคราะห์ความเสียหาย หมายถึงการตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของโครงสร้างที่เกิดความเสียหาย เพื่อที่จะวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมีจุดประสงค์ทั่วไป เพื่อป้องกัน ซ่อมแซม หรือออกแบบใหม่สำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของโครงสร้างที่ได้รับความเสียหาย และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นอีกในอนาคตตามมาครับ

ติดตามเกร็ดความรู้ใหม่ๆ จาก PNS เกี่ยวกับความรู้ทางวิศวกรรม ได้ที่เพจเลยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก รศ.ดร.เสกศักดิ์ อัสวะวิสิทธิ์ชัย